แนะนำหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
คณะ : คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
ชื่อหลักสูตร :
– (ภาษาไทย) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
– (ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Science Program in Paramedicine
ปริญญาและสาขาวิชา :
ชื่อปริญญา
– (ภาษาไทย : ชื่อเต็ม) วิทยาศาสตรบัณฑิต(ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์)
– (ภาษาไทย : อักษรย่อ) วท.บ.(ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์)
– (ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม) Bachelor of Science (Paramedicine)
– (ภาษาอังกฤษ : อักษรย่อ) B.Sc. (Paramedicine)
ค่าใช้จ่าย : อัตราค่าเล่าเรียน 30,000 ต่อภาคเรียน หรือ 240,000 บาท ตลอดหลักสูตร
ความสําคัญของหลักสูตร
การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของเกือบทุกประเทศทั่วโลก ประเทศไทยมี พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉินพ.ศ. 2551 รวมทั้งมีการก่อตั้งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และจัดทําแผน ยุทธศาสตรการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พ.ศ. 2551 – 2555 โดยกําหนดว่าการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Service: EMS) หมายถึง การบริการผู้บาดเจ็บและป่วยฉุกเฉินทั้งในภาวะปกติและสาธารณะภัย ครอบคลุมตั้งแต่การรับแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน การให้คําแนะนําปรึกษาฉุกเฉิน การดูแลรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ก่อนถึงโรงพยาบาล การลําเลียง ขนย้ายและนําส่งสถานพยาบาลที่เหมาะสม และการรักษาพยาบาลฉุกเฉินใน สถานพยาบาล จนกระทั่งพ้นภาวะฉุกเฉิน โดยกําหนดกรอบระบบการแพทย์ฉุกเฉินว่าประกอบด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล (Pre-hospital care) ระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่โรงพยาบาลและระบบส่งต่อ (Emergency department and transferal system) และระบบการแพทย์ฉุกเฉินในกรณีภัยพิบัติ นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เพิ่มองค์ประกอบการดูแลสุขภาพด้าน Pre – hospital trauma and emergency care ในปี ค.ศ. 2007 อีกด้วย
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ที่มีคุณลักษณะ
1. มีจิตสาธารณะ คุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และเคารพในศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์
2. มีความรอบรู้ในศาสตร์ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะด้านเวชศาสตร์เขตเมืองโดยสามารถประยุกต์ความรู้มาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมตามกฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ
3. สามารถปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และประสานการปฏิบัติการในเมืองขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. มีความคิดอย่างเป็นระบบ มีวิจารณญาณ และแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ในการปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และสถานการณ์ทั่วไป
5. มีภาวะผู้นํา มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สื่อสารและทํางานกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. สามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลขและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน
7. สามารถทําการวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉิน วิเคราะห์ผล และนํามาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานหรือสร้างนวัตกรรมได้
8. ใฝ่รู้ พัฒนาตนเองและวิชาชีพให้ทันสมัยได้อย่างต่อเนื่อง
9. มีสุขภาพ บุคลิกภาพที่ดี และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
ข้อมูลการเปิดรับสมัคร